การสรุป

เทคนิคการสรุปบทเรียน 
ความหมาย 

    
เทคนิคการสรุปบทเรียน  หมายถึง  กลวิธีในการรวบรวมใจความหรือเนื้อเรื่องที่สำคัญ ๆ ที่ผู้สอนต้องการจะให้ผู้เรียนทราบเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องและสมบูรณ์ขึ้น โดยทั่ว ๆ ไปการสรุปบทเรียนจะทำทุกครั้งหลังจากที่สอนจบบทเรียนแล้ว เพื่อผู้เรียนจะได้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างของความรู้และทักษะต่าง ๆ ที่ได้รับ ได้แนวคิดที่ถูกต้องในบทเรียนนั้น  และเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ในเนื้อหาต่อไป
การสรุปบทเรียนมักจะกระทำเมื่อไร
                1.  สรุปใจความสำคัญแต่ละตอนในระหว่างเรียน
                2.  สรุปเมื่อจบบทเรียน
                3.  เมื่อนักเรียนอภิปรายหรือฝึกปฏิบัติจบลง


วิธีการสรุปบทเรียนอาจทำได้หลายวิธี
                1.  การสรุปทบทวนบทเรียน  ครูไม่จำเป็นต้องทบทวนสรุปเองทั้งหมด  ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วม  โดยครูอาจจะใช้คำถามและพยายามให้มีแต่ละสาระสำคัญ  และเรียบเรียงอย่างเหมาะสมอาจจะให้นักเรียนรวบรวมการสรุปลงในสมุด
                2.  สรุปจากการปฏิบัติ  เช่น  ให้นักเรียนสังเกตการสาธิตการทดลองและพยายามชี้ให้นักเรียนเห็นความสำคัญของวิชาความรู้เดิม  หรือบทเรียนที่เพิ่งเรียนจบกับบทเรียนที่จะเรียนในอนาคต
                3.  สรุปจากการสร้างสถานการณ์  โดยครูสร้างสถานการณ์ให้สอดคล้องกับบทเรียนและให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นออกมา
                4.  สรุปจากการใช้อุปกรณ์  โดยครูอาจจะใช้อุปกรณ์การสอนมาช่วยให้การสรุปบทเรียนให้ง่ายขึ้น  เช่น  เมื่อนำเครื่องมือทางเกษตรมาให้นักเรียนดู  นักเรียนสามารถสรุปข้อควรระวังในการใช้ได้ถูกต้อง
การสรุปมี 2 ลักษณะ
                1.สรุปทางด้านความรู้ คือ การเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมได้ และสามารถจับความคิดรวบยอดได้
                
2.สรุปทางด้านสังคม คือมีการชมเชยให้กำลังใจ ทำให้นักเรียนรู้สึกว่าตนเองนั้นเกิดการเรียนรู้


ข้อควรคำนึงในการสรุปบทเรียน
                1.  การสรุปทบทวนโดยการใช้คำถามต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาและจุดประสงค์ของบทเรียน
                2.  วิธีการสรุปต้องสอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของนักเรียน
                3.  การสรุปต้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่นักเรียนรู้แล้วไปยังสิ่งที่ยังไม่รู้
                4.  การสรุปต้องสามารถใช้ประเมินบทเรียนว่ามีสาระและผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนได้
                5.  การสรุปจะต้องเป็นการแนะแนวกาเรียนในครั้งต่อไป


ประโยชน์ของการสรุปบทเรียน
                1. ประมวลเรื่องราวที่สำคัญ ที่ได้เรียนไปแล้วเข้าด้วยกัน
                2. เชื่อมโยงกิจกรรมการเรียนการสอนเข้าด้วยกัน
                3. รวบรวมความสนใจของผู้เรียนเข้าด้วยกันอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะจบบทเรียน
                4. สร้างความเข้าใจในบทเรียนให้ดีขึ้น
                5. ช่วยส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน ถ้าผู้สอนรู้จักให้ผู้เรียนคิดต่อไปว่าจะนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้ หรือนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง








อ้างอิง
เข้าถึงได้จาก http://pisadd.212cafe.com/archive
                
file.siam2web.com/teaching402rru/2009719_70594.doc
                http://pirun.ku.ac.th/~g5186080/prototype/skill.pdf (วันที่ค้นข้อมูล : 27 สิงหาคม 2554).
อัญชลี  แจ่มเริญ และคณะ.  หลักการสอนและการเตรียมประสบการณ์ภาคปฏิบัติพิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เฉลิมชัยการพิมพ์, 2526.